USD ร่วง! แม้ CPI ปรับบวก 7% | ติดตามจำนวนสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ, PPI ญี่ปุ่น, ตัวชี้วัดระยะสั้นของอังกฤษ

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

ตลาดวันนี้

หมายเหตุ: ตารางด้านบนได้รับการอัปเดตก่อนเผยแพร่ด้วยการคาดการณ์ล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามข้อความและกราฟได้ถูกจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นจึงอาจมีความคลาดเคลื่อนระหว่างการคาดการณ์ที่ระบุในตารางด้านบนและการคาดการณ์ที่ระบุในข้อความและกราฟ

ประเด็นสำคัญในตลาดทุกวันนี้คือภาวะเงินเฟ้อ นั่นหมายความว่าผู้คนจำนวนมากให้ความสนใจดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในเวลานี้ หลายคนคิดว่าการเพิ่มขึ้นของราคาผู้ผลิตในท้ายที่สุดจะทำให้ราคาผู้บริโภคสูงขึ้น แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป บางครั้งก็อาจเป็นด้วยสาเหตุอื่นได้เช่นกัน (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ The PPI and the CPI: what’s the connection? (PPI และ CPI: มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร) ในกรณีใดๆ การเพิ่มขึ้นของดัชนี PPI จะกระตุ้นให้เกิดความคิดที่ว่าดัชนี CPI จะสูงขึ้นตามในภายหลัง

ตัวเลขผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ผันผวนอยู่ที่ราวๆ 200,000 รายมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยอยู่ที่ระหว่าง 188,000 รายในวันที่ 3 ธันวาคม จนมาสู่ 207,000 รายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมคิดว่าอาจจะมาถึงจุดต่ำสุดแล้วในตอนนี้ ซึ่งระดับต่ำสุดในเดือนธันวาคมที่ 188,000 รายนั้นถือเป็นการแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ (ต่ำสุดคือ 162,000 ราย ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1968 เมื่อประชากรวัยทำงานมีประมาณครึ่งหนึ่งของที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งหากจะก้าวผ่านระดับนี้ไปได้ ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นเพราะว่าบริษัทต่างๆ เผชิญกับความยากลำบากในการหาแรงงาน จึงอาจยังไม่ยอมให้แรงงานออกไปเสียง่ายๆ ดังนั้นตัวเลขดังกล่าวจึงอาจทรงตัวอยู่ที่ระดับนี้ไปสักพัก

ตัวเลขในสัปดาห์นี้จะมีความสำคัญต่อการพิจารณาว่าบรรดาบริษัทต่างๆ และพนักงานเป็นอย่างไรเมื่อสายพันธุ์โอมิครอนแพร่ระบาดไป สิ่งนี้จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียงานเพิ่มขึ้นหรือไม่

ตัวเลขผู้ยื่นขอรับสวัสดิการต่อเนื่องก็ดูเหมือนจะทรงตัวเช่นกัน

ในเวลาต่อมาคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาจะจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสนอชื่อผู้ว่าการ Lael Brainard ให้ดำรงตำแหน่งรองประธาน Fed เธออาจได้รับแรงสนับสนุนจากบรรดาวุฒิสมาชิกมากขึ้นเนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเธอเป็นพรรคเดโมแครตเพียงคนเดียวในบรรดาสมาชิกสภาผู้ว่าการ แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเธอจะได้รับการอนุมัติในท้ายที่สุด – วุฒิสมาชิกดูเหมือนจะไม่ค่อยเล่นการเมืองมากกับการแต่งตั้งตำแหน่งของ Fed เหมือนที่พวกเขาทำที่อื่น

จากนั้นในชั่วข้ามคืน เราก็ได้เห็นตัวเลขดัชนีชี้วัดที่คุณรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งก็คือ ดัชนีราคาสินค้าภาคเอกชนของญี่ปุ่น (CGPI) ซึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆ ในชื่อว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)

ผมได้พูดคุยเกี่ยวกับ CGPI โดยละเอียดใน Weekly Outlook (แนวโน้มรายสัปดาห์) แต่เนื่องจากผมได้รับเงินจ้างเขียนบทความนั้น ผมจะกล่าวซ้ำทุกอย่างและจะเพิ่มเติมเนื้อหาอีกสักเล็กน้อย เพื่อที่ผมจะสามารถเพิ่มความร้อนในบ้านได้สักสองสามองศาในช่วงฤดูหนาว

ตลาด FX ไม่ได้ให้ความสนใจกับดัชนีนี้มากนักในช่วง 20 หรือ 30 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้เรากำลังจับตาดูดัชนีนี้อย่างใกล้ชิด ในเดือนพฤศจิกายน ตัวเลขดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้น 9% yoy ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 ทั้งนี้คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 8.8% yoy ในเดือนธันวาคม ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก

ตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจถึง 75% yoy และราคาสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น 15.7% yoy

จนถึงขณะนี้บรรดาบริษัทต่างๆ สามารถรับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นในส่วนต่างกำไรของพวกเขาได้แล้ว แต่ผลสำรวจระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ (tankan) แสดงให้เห็นว่ามีบริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผลักภาระต่อไปยังผู้บริโภค ดัชนีการกระจาย (DI) ของราคาแสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ ขึ้นราคากี่เปอร์เซ็นต์ ลบด้วยเปอร์เซ็นต์ที่ลดราคาลง ในทศวรรษที่ผ่านมา ดัชนี DI ราคาที่เป็นปัจจัยการผลิตนั้นเป็นไปในค่าบวก (มีบริษัทจำนวนมากที่มองว่าราคาวัตถุดิบของพวกเขาสูงขึ้นมากกว่าลดลง) แต่ DI ราคาผลผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าลบ (มีบริษัทหลายแห่งที่ลดราคามากกว่าการขึ้นราคา) ทั้งนี้นั่นเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หลายต่อหลายบริษัทมากขึ้นเต็มใจและผลักภาระราคาที่สูงขึ้นเหล่านั้นไปยังบรรดาผู้บริโภค

หากพวกเขาผลักภาระเพียงส่วนเล็กๆ ของราคาที่สูงขึ้นเหล่านี้ ญี่ปุ่นอาจบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจเริ่มควบคุมนโยบายการเงินแบบพิเศษ นั่นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับโลกการเงิน ซึ่งเคยชินกับการที่ญี่ปุ่นเป็นแหล่งเงินไร้ต้นทุนที่ไม่มีวันสิ้นสุด นั่นอาจหมายถึงค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นและค่าเงินยูโรหรือฟรังก์สวิสที่อ่อนค่าลง เนื่องจากบรรดานักลงทุนเปลี่ยนสกุลเงินที่พวกเขาระดมทุน

การเกินดุลการค้าของจีนคาดการณ์ว่าจะยังคงเท่าเดิม ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยในขณะที่ยังคงสูงกว่าอัตราก่อนเกิดโรคระบาด น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศที่ส่งออกไป โดยเฉพาะออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

จากนั้นเราจะรอจนถึงช่วงต้นของวันยุโรปและการเริ่มต้นของวันแห่งตัวชี้วัดระยะสั้นของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึงตัวเลขการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต, ตัวเลขทางการค้าต่างๆ และ GDP รายเดือนที่สำคัญทั้งหมด

GDP เดือนพฤศจิกายนคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดจากเดือนตุลาคมที่ตัวเลขนั้นค่อนข้างต่ำ เนื่องจากภาคบริการมีการฟื้นตัว การทดสอบและการฉีดวัคซีนนับเป็นบริการด้านสุขภาพในตัวเลข GDP เช่นกัน คุณก็รู้! ตัวเลขการใช้จ่ายค้าปลีกเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนดังกล่าวเนื่องจากผู้คนซื้อของในช่วงคริสต์มาสตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะกลัวว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการอาจขายหมดไปจากร้าน หากโชคดี กำลังผลิตจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด

 

ด้วยมาตรการ “Plan ‘B'” ที่เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ปัญหาคือเดือนพฤศจิกายนอาจแสดงสัญญาณ High Water Mark ในเวลานี้ แม้ว่ามาตรการเหล่านั้นจะไม่เป็นภาระหนักหนาเป็นพิเศษนัก

ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการผลิตคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% mom ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงดูราวกับว่ามีจุดเดียวบนกราฟ การเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยนี้ไม่น่าประทับใจเป็นพิเศษ เนื่องด้วยการลดลงในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา อุปสงค์ของพลังงานเพิ่มขึ้นในช่วงเดือน (ดี) แต่ตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบลดลงประมาณ 10% (แย่)

ในขณะเดียวกัน คาดว่าการขาดดุลการค้าของประเทศจะเพิ่มขึ้น ทั้งสำหรับเฉพาะสินค้าและสำหรับสินค้าและบริการ ผมสงสัยว่านี่จะเป็นเรื่องราวต่อเนื่องในปี 2022 เมื่อมีข้อเท็จจริงเรื่อง Brexit เข้ามาเกี่ยวข้อง และสหราชอาณาจักรก็พบว่าบางทีการตัดสัมพันธ์กับคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดอาจไม่ใช่ความคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลลบต่อเงินปอนด์ นี่คือความเห็น (อันอ่อนด้อย) ของผม

Share.
คำเตือนความเสี่ยง: การเทรดฟอเร็กซ์/CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นมีการเก็งกำไรสูงและมีความเสี่ยงสูง การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทั่วไป