CAD พุ่งตามน้ำมัน ขณะที่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง USD และ JPY ย่อตัวลง | ติดตาม CPI สหรัฐฯ และรายงาน Beige Book

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

 

ตลาดวันนี้

หมายเหตุ: ตารางด้านบนได้รับการอัปเดตก่อนเผยแพร่ด้วยการคาดการณ์ล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามข้อความและกราฟได้ถูกจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นจึงอาจมีความคลาดเคลื่อนระหว่างการคาดการณ์ที่ระบุในตารางด้านบนและการคาดการณ์ที่ระบุในข้อความและกราฟ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนชะลอตัวจนแทบไม่มีการเติบโตเลยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยตัวเลขอยู่ที่ระดับ 102.6 ในเดือนตุลาคมและ 102.4 ในเดือนมีนาคม หากการคาดการณ์ของวันนี้ถูกต้อง ดัชนีจะเพิ่มขึ้นเป็น 102.8 ซึ่งไม่ได้ดีขึ้นมากนักและยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาด -0.4%

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวก็ยังชนะญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรและไม่ได้ตามหลังสหรัฐอเมริกามากนัก และเมื่อเทียบกับประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอย่างเยอรมนีซึ่งตามหลังอย่างมาก ดังนั้นผมคิดว่านี่เป็นผลลัพธ์ที่ดีทีเดียว แม้ว่าผมจะไม่คาดหวังว่าตัวชี้วัดของวันนี้จะจุดประกายความกระตือรือร้นใดๆ สำหรับ EUR ในทางใดทางหนึ่ง

ต่อไปเป็นไฮไลท์ของสัปดาห์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดอย่างดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CPI) CPI ไม่ใช่เกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed มุ่งให้ความสนใจ หากแต่มุ่งเป้าไปที่ดัชนีชี้วัดรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditure (PCE) หรือระบุให้ชัดเจนกว่านั้นคือ ดัชนีชี้วัด PCE พื้นฐาน แต่ตลาดนั้นให้ความสำคัญกับดัชนีชี้วัด CPI มากกว่า PCE การเปลี่ยนแปลงของดัชนี CPI ทั่วไป (MoM) มีตัวเลขดัชนีความเกี่ยวข้องกับ Bloomberg อยู่ที่ 96.1 และตัวเลขดัชนีพื้นฐานอยู่ที่ 76.9 ในขณะที่ดัชนีชี้วัด PCE ที่มีอันดับสูงสุดคือ ดัชนีชี้วัด PCE พื้นฐาน (MoM) ซึ่งมีตัวเลขอันน้อยนิดอยู่ที่ 60.1 ตามด้วยดัชนี PCE ทั่วไปที่มีตัวเลขต่ำจนน่าตกใจที่ระดับ 18.9 นั่นอาจเป็นเพราะว่าผู้คนเข้าใจ CPI ดีกว่าที่พวกเขาเข้าใจดัชนีชี้วัด PCE หรืออาจเป็นเพียงเพราะตัวเลขดัชนี CPI ออกมาก่อนดัชนีชี้วัด PCE ประมาณสองสัปดาห์หรือมากกว่านั้นและค่อนข้างมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ดังนั้นดัชนีแบบแรกจึงเป็นตัวบ่งบอกล่วงหน้าที่ดีสำหรับดัชนีแบบหลัง (แม้ว่าดัชนี CPI จะมีความผันผวนมากกว่าดัชนีชี้วัด PCE ก็ตาม)

อัตราทั่วไปคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจอีก 7% yoy ในขณะที่อัตราพื้นฐานคาดการณฺว่าจะแตะที่ระดับ 5.4%

นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีการพูดถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นว่าเป็นภาวะ “ชั่วคราว” (คำที่ Powell ประธาน Fed ได้ประกาศ “ยกเลิก”) เราอาจไม่เห็นอะไรจากตัวเลขดังกล่าวมากนัก แต่หากเรานำการเปลี่ยนแปลงในดัชนีในช่วงสามเดือนที่ผ่านมามาคํานวณโดยวิธีปรับค่าให้เป็นรายปี จะแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะตามเกณฑ์พื้นฐาน ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจะเห็น

ตัวเลขเหล่านี้อาจทำให้บรรดานักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม แต่เนื่องจากถูกมองว่ามีความน่าจะเป็นถึง 76% ผมจึงไม่แน่ใจว่าจะสร้างความแตกต่างให้กับเงินดอลลาร์ได้มาก ในทางกลับกันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 26 มกราคมนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ต่อมาในวันเดียวกัน Fed ได้เผยแพร่ “รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน” หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Beige Book ซึ่งปกติจะเผยล่วงหน้าสองสัปดาห์ก่อนการประชุม FOMC ครั้งที่จะถึง ซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญต่อตลาดเนื่องจากย่อหน้าแรกของคำแถลงหลังการประชุม FOMC แต่ละครั้งมีแนวโน้มที่จะสะท้อนถึงลักษณะเศรษฐกิจของ Beige Book ถึงแม้หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีการระบุตัวเลขที่ชัดเจน แต่บริษัทวิจัยหลายแห่งได้มีการคำนวณ “ดัชนี Beige Book” โดยการนับจำนวนคำต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “ไม่แน่นอน” (uncertain) หรือ “เงินเฟ้อ” (inflation) หรือ “คอขวด” (bottleneck) แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญไม่มากนั้น ดังนั้น คุณจะต้องเฝ้าติดตามตัวเลขจริงที่จะมีการเผยแพร่ออกมาหลังจากนั้น

Share.
คำเตือนความเสี่ยง: การเทรดฟอเร็กซ์/CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นมีการเก็งกำไรสูงและมีความเสี่ยงสูง การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทั่วไป