การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศและอัตราเงินเฟ้อ

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

เราได้พูดคุยกันมากมายถึงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ผลกระทบของการแพร่ระบาด ผลกระทบของการขาดแคลนแรงงาน รถยนต์ใช้แล้วและไมโครชิป ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” หรือราคามีความ “หนืด” และอีกมากมาย วันนี้ผมอยากจะพูดถึงแนวโน้มในระยะยาวของอัตราเงินเฟ้อ ผมกังวลว่าเหตุผลหนึ่งที่อาจทำให้เงินเฟ้อสูงกว่าที่เราคาดไว้ในระยะเวลานานกว่าที่เราคาดไว้อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ ซึ่งนั่นเป็นปัญหาใหญ่สำหรับธนาคารกลาง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไม่ได้ช่วยให้มีอาหารเพิ่มขึ้น แค่รัดแรงอุปสงค์ไว้

ผมรู้สึกอึ้งกับกราฟดัชนีราคาอาหารโลกขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเพิ่มขึ้น 20% yoy โดยเมื่อเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 41% yoy นั่นเป็นภาระอย่างหนักหน่วงต่องบประชาชน

ดัชนีไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2011 เมื่อต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการลุกฮือต่อต้านทางการเมืองในอียิปต์และลิเบีย ราคาเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม และซีเรียลปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีดัชนีในปี 1990

สิ่งจำเป็นในชีวิตหลายอย่างมีราคาแพงขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว เราจะต้องเริ่มดื่มโกโก้ (-4.2%) แทนกาแฟ (+84%) แต่ห้ามใส่นม (+34%) ลงไปด้วย!

นักทำโปสเตอร์เด็กน่าสงสารสำหรับราคาสินค้าเกษตรที่บ้าคลั่งในช่วงนี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องอาหาร แต่เป็นเรื่องไม้แปรรูป ราคาฟิวเจอร์สไม้แปรรูปแตะระดับสูงสุดที่ $1,686 ต่อ 1,000 บอร์ดฟุตในวันที่ 7 พฤษภาคมปีที่แล้ว ซึ่งราคาลดลงมามากแล้วตั้งแต่นั้นมา โดยล่าสุดอยู่ที่ $980 แต่สำหรับก่อนปี 2021 นั่นเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นี่เป็นช่วงเวลาที่สั้นลงเพื่อให้คุณได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

ราคาไม้ที่พุ่งขึ้นแรงนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับตลาดการเคหะของสหรัฐ ยอดเริ่มสร้างบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 1.6 ล้านต่อเดือนในปี 2021 เทียบกับ 2.07 ล้านต่อเดือนในปี 2006 โดยที่ไม้แปรรูปเฉลี่ยอยู่ที่ $615 แม้ว่าเราจะปรับอัตราเงินเฟ้อ (1986 = 100) ไม้แปรรูปเฉลี่ยที่ 92 ในปี 2006 และที่ 209 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นั่นมากกว่าสองเท่าของราคาที่ปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว

ล่าสุดสาเหตุของราคาไม้ที่สูงเช่นนี้ได้ถูกอธิบายไว้ในบทความหลายฉบับใน The Atlantic ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับความสนใจทั่วไปของสหรัฐ ยกโทษให้ผมด้วยที่ขโมยคัดเรื่องของพวกเขามาอย่างหน้าไม่อาย

ส่วนหนึ่งของเรื่องราวเกี่ยวกับไม้แปรรูปคือเรื่องโรคระบาด เมื่อเกิดโรคระบาด คนก็ต้องทำงานที่บ้าน หลายคนตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการเพิ่มห้องใหม่เพื่อทำงาน หรือเนื่องจากพวกเขาใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น พวกเขาจึงตัดสินใจขยายบ้านมากกว่าที่จะหยุดงานไปพักผ่อน ดังนั้นแม้ว่าจำนวนที่อยู่อาศัยจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ความต้องการไม้แปรรูปก็เพิ่มขึ้น

แต่จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ในอดีต ตลาดไม้แปรรูปสามารถรองรับความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นได้โดยที่ราคาไม่พุ่งทะยานขึ้นไป เมื่อไม้แปรรูปแตะ $500 ต่อ 1,000 บอร์ดฟุต พวกเขาก็แค่ตัดต้นไม้เพิ่ม ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น 

“เรื่องของราคาไม้เป็นเรื่องของสภาพอากาศ” พ่อค้าไม้คนหนึ่งที่ถูกอ้างถึงในนิตยสาร อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นต้องเผชิญกับภัยพิบัติหลายอย่างที่ทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถขยายอุปทานได้ ภัยพิบัติเหล่านี้รวมถึง:

  • การระบาดของศัตรูพืช มีการระบาดของแมลงปีกแข็งกินเปลือกไม้ในป่าของแคนาดาตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในปีที่ผ่านๆ มา ความหนาวเย็นจะฆ่าแมลงเหล่านี้เป็นจำนวนมากในช่วงฤดูหนาว แต่ปัจจุบันตายไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน ยิ่งไปกว่านั้น ต้นไม้ที่ประสบภัยแล้งมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดจากแมลงน้อยกว่า
  • ฤดูไฟป่าเยอะทำลายสถิติอย่างต่อเนื่อง ในปี 2017 บริติชโคลัมเบีย ซึ่งเป็นเขตการผลิตไม้แปรรูปรายใหญ่ของแคนาดา ถูกไฟไหม้หนักที่สุดในประวัติศาสตร์ ในปี 2018 ยิ่งแย่ลงกว่าเดิม ฝนน้อยลง อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น = ไฟไหม้มากขึ้น ซึ่งพวกแมลงปีกแข็งก็มีส่วนช่วยด้วย เมื่อต้นไม้ถูกโจมตี ต้นไม้จะหลั่งยางไม้ออกมาเพื่อป้องกันตัว และยางไม้ก็ติดไฟได้ง่าย
  • น้ำท่วมใหญ่ ในอีกด้าน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วมีน้ำท่วมใหญ่ “แม่น้ำในชั้นบรรยากาศ” ที่ชะรางรถไฟในบริติชโคลัมเบียออกไปและขัดขวางการขนส่งไม้แปรรูป อุทกภัยก็เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อนที่มากขึ้น

เรื่องราวนี้ก็มีความคล้ายคลึงกันในสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ

อีกครั้ง ส่วนหนึ่งของเรื่องราวเกี่ยวกับโรคระบาด เมื่อผู้คนเลิกออกไปกินข้าวนอกบ้านและทำอาหารกินเองที่บ้านมากขึ้น อุตสาหกรรมได้ค้นพบว่าห่วงโซ่อุปทานที่ออกแบบมาเพื่อนำอาหารส่งสู่ร้านอาหารและจะเปลี่ยนไปเป็นส่งอาหารให้ซูเปอร์มาร์เก็ตนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ผลิตบางรายถูกบังคับให้ทำลายพืชผล (นม มันฝรั่ง) โรงฆ่าสัตว์ปิดตัวลงเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกษตรกรต้องกำจัดฝูงสัตว์และขึ้นราคาเนื้อสัตว์ การขาดแคลนคนขับรถบรรทุกทำให้ทุกอย่างแย่ลงอีก

ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยด้านสภาพอากาศเกี่ยวข้องด้วย 

ข้าวสาลีและข้าวโพด: ฤดูร้อนที่แล้วร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมาในสหรัฐ ความร้อนบวกกับความแห้งแล้งที่ทุบสถิติไม่เพียงแค่ทำให้พืชผลเสียหายเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดฝูงตั๊กแตนซึ่งกินข้าวสาลีด้วย  ข้าวโพดก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน

กาแฟ:  บราซิลประสบปัญหาภัยแล้งครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 91 ปีเมื่อปีที่แล้ว ระดับน้ำในแม่น้ำบางสายลดลงจนการขนส่งหยุดชะงัก จากนั้นความเย็นเยือกแข็งที่ไม่คาดคิดก็โถมเข้าใส่พื้นที่ปลูกกาแฟของบราซิล ซึ่งไม่เพียงแค่สร้างความเสียหายให้กับพืชผลในปัจจุบัน แต่ยังรวมถึงตาที่จะกลายเป็นเมล็ดกาแฟในปีหน้าด้วย (และเช่นเดียวกับในแคนาดาที่ต้นไม้อ่อนแอลงแล้วจากสภาวะความเครียดจากความร้อน) ฟิวเจอร์สกาแฟเพิ่มขึ้น 84% จากปีก่อนหน้า

ถั่ว:  เมื่อ “เนื้อเทียม” ได้รับความนิยมมากขึ้น ความต้องการถั่วก็เพิ่มขึ้น แต่อนิจจา ความแห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดในแคนาดานับตั้งแต่ปี 1961 ส่งผลกระทบต่อพืชถั่วและช่วยให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ด้วยความบังเอิญ ฝนตกผิดปกติในฝรั่งเศสทำให้พืชถั่วของพวกเขาเสียหาย

เรื่องราวแบบเดียวกันนี้อาจเกิดซ้ำได้ในอาหารหลากหลายประเภท

มีปัญหาหลายประการเกี่ยวกับภาวะราคาอาหารเฟ้อ:

  1. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่สามารถช่วยเพิ่มอุปทานได้ มันช่วยจำกัดราคาโดยการกดอุปสงค์ให้ต่ำไว้เท่านั้น แต่ความต้องการอาหารไม่ได้ยืดหยุ่นตามราคา คนเราต้องกินอะไรสักอย่าง พวกเขาสามารถกินเนื้อไก่แทนเนื้อวัวได้หากราคาเนื้อวัวสูงขึ้นมากเกินไป แต่ด้วยราคามันฝรั่งที่เพิ่มขึ้น 245% ตั้งแต่ต้นปี 2021 ก็เป็นเรื่องยากที่จะเห็นว่าราคาอาหารของคนจะลดต่ำลงได้มากเพียงใด เมื่อถึงจุดหนึ่ง ราคาอาหารที่สูงจะจำกัดความต้องการสินค้าและบริการอื่นๆ
  2. ภาวะราคาอาหารเฟ้อกระทบคนยากจนมากที่สุด เพราะพวกเขามักจะใช้รายได้ส่วนใหญ่ไปกับค่าอาหาร ดังนั้นจึงกระทบกับประเทศกำลังพัฒนาหนักกว่าประเทศอุตสาหกรรมด้วย คนจนที่นั่นอาจใช้รายได้ 50%-60% ไปกับค่าอาหาร อาหารมีน้ำหนัก 13.9% ในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐ แต่มีน้ำหนัก 17%-21% สำหรับจีน, 20.7% สำหรับบราซิล และ 23.2% สำหรับเม็กซิโก

อีกอย่าง การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศก็ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เซมิคอนดักเตอร์มากกว่าครึ่งของโลกผลิตในไต้หวัน ซึ่งบริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลกคือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co Ltd (TSMC) ใช้น้ำมากกว่า 150,000 ตันต่อวัน (ประมาณ 80 สระว่ายน้ำมาตรฐาน) โดยปกติเกาะนี้จะได้รับน้ำปริมาณมาก แต่สิ่งที่คู่กับน้ำท่วมแปลกประหลาดที่อื่นๆ ในโลกคือไม่มีฝนจากมรสุมตามปกติในไต้หวัน ปัญหาการขาดแคลนน้ำปัจจัยหนึ่งที่ขัดขวางการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

 

สัปดาห์หน้า: CPI ของสหรัฐ, PPI ของญี่ปุ่น, วัน “ตัวชี้วัดระยะสั้น” ของสหราชอาณาจักร

สัปดาห์ที่สองของเดือนมักจะเงียบ แต่สัปดาห์นี้ดูเหมือนว่าจะเงียบตามปกติอย่างผิดปกติ งงไหม

จุดสนใจหลักเช่นเคยคือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะออกในวันพฤหัสบดี ในทางทฤษฎี สิ่งนี้ไม่ควรมีความสำคัญมากเท่ากับดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) แบบปรับเทียบอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเฟดใช้เพื่อกำหนดอัตราเงินเฟ้อ แต่ในทางปฏิบัติ นี่คือสิ่งที่ตลาดให้ความสนใจมากที่สุด

โดยคาดว่าจะเลวร้าย: ปรับเพิ่มขึ้นอีกเป็น 7.3% yoy และไม่ใช่พลังงานและอาหารทั้งหมดเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน

เราจะไปกล่าวโทษผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐานก็ไม่ได้ ถ้าเราดูการเปลี่ยนแปลงแบบ 3 เดือนโดยคำนวณเป็นอัตรารายปีเพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลง แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงขึ้นอีก (แล้วผมจะใช้เวลาหลายชั่วโมงนั่งเขียนเกี่ยวกับภาวะราคาอาหารเฟ้อ ซึ่งไม่รวมอยู่ในมาตรวัดหลักทำไมเนี่ย? เลือกเรื่องได้ไม่ดีเลยเรา)

การปรับขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เรียกว่าราคาที่ “ยืดหยุ่นได้” เช่น สินค้าที่เปลี่ยนแปลงเป็นประจำ (ให้นึกถึงราคาน้ำมันและค่าตั๋วเครื่องบิน) แต่ราคาที่ “หนืด” หรือสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไม่บ่อยนัก ก็ปรับขึ้นเช่นกัน โดยปรับขึ้น 3.7% yoy ซึ่งเกือบจะเป็นสองเท่าของเป้าหมายของเฟด ราคาที่ยืดหยุ่นก็ยืดหยุ่นในด้านลบเช่นกัน แต่ราคาที่เหนียวหนืดจะยังคงติดหนึบอยู่ในระดับสูง

แต่ก็ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง เฟดซานฟรานซิสโกชำแหละตัวเลข PCE แบบปรับเทียบอัตราเงินเฟ้อเพื่อดูว่าสินค้าชิ้นใดมีความอ่อนไหวต่อการหยุดชะงักที่เกิดจากการระบาดและสินค้าใดไม่ได้รับผลกระทบ (ส่วนใหญ่จากการดูว่าราคาใดทรุดตัวลงหรือทะยานสูงขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการระบาด) สิ่งที่พวกเขาพบคือสินค้าและบริการที่มีความอ่อนไหวต่อโควิด-19 ยังคงมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก (ประมาณ 4.0 จุดเปอร์เซ็นต์เทียบกับ 1.1 จุดเปอร์เซ็นต์สำหรับสินค้าและบริการที่ไม่อ่อนไหว) อย่างไรก็ตาม รายได้จากสินค้าและบริการที่ไม่อ่อนไหวต่อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ 0.4 จุดเปอร์เซ็นต์เมื่อต้นปี ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังแพร่กระจายออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในทันที นี่คือเหตุผลที่ธนาคารกลางต้องดำเนินการเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ภายใต้การควบคุม

ตัวชี้วัดอื่นๆ ของสหรัฐในสัปดาห์หน้า เช่น ดุลการค้าในวันอังคาร และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของ U of M ในวันศุกร์

ธนาคารกลางแห่งหนึ่งที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเฟ้อจะลดลง ในตอนนี้ คือธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในวันพฤหัสบดี เราจะได้ทราบ Corporate Goods Price Index (CPGI) ของญี่ปุ่น ซึ่งที่อื่นรู้จักกันในชื่อดัชนีราคาผู้ผลิตหรือ Producer Price Index (PPI) โดยคาดว่าราคาผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งอย่างผิดปกติ แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าในช่วงสองเดือนก่อน (อย่างน้อยก็เมื่อเทียบปีต่อปี)

ผู้คนจำนวนมากที่ไม่มีอะไรจะทำ เช่นผม ต่างเฝ้าดูตัวชี้วัดนี้อย่างใกล้ชิด ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น 77% yoy อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในเดือนพฤศจิกายนทำให้ราคาสินค้าขั้นกลางปรับขึ้นสูงผิดปกติที่ 16.1% yoy  (สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1980)

ตอนนี้เราทุกคนต่างสงสัยว่า: อีกนานแค่ไหนก่อนที่ CGPI โดยรวมที่เพิ่มขึ้น 8.5% yoy จะเริ่มส่งต่อไปยังดัชนีราคาผู้บริโภคในญี่ปุ่นที่ +0.8% yoy? ครั้งสุดท้ายที่ราคาสินค้าขั้นกลางปรับขึ้นในอัตรานี้ ราคาสินค้าขั้นสุดท้ายปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ต่อปีและ CPI เพิ่มขึ้น 8% ต่อปี หรือบริษัทจะดูดซับราคาที่สูงขึ้นในมาร์จิ้นของพวกเขาต่อไปเรื่อยๆ? นี่คือเหตุผลที่ตัวชี้วัดที่คลุมเครือก่อนหน้านี้เพิ่งกลายเป็นตัวชี้วัดสุดฮอต อย่างน้อยก็สำหรับผู้ที่จะอยู่หรือตายจากตารางข้อมูลเหล่านี้อย่างพวกผม

ญี่ปุ่นยังเปิดเผยดุลบัญชีเดินสะพัดในวันอังคารอีกด้วย

วันที่สำคัญที่สุดสำหรับตัวชี้วัดระหว่างสัปดาห์จะเป็นวันศุกร์ เมื่อสหราชอาณาจักรได้เพลิดเพลินกับ “วันตัวชี้วัดระยะสั้น” ประจำเดือน ซึ่งประกอบไปด้วยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ข้อมูลการค้า และ GDP ไตรมาส 4 ดาวเด่นของงานนี้ ตลาดจะมองหา +1.1% qoq เช่นเดียวกับในไตรมาส 3 ตามรายงานนโยบายการเงินเดือนกุมภาพันธ์ของธนาคารกลางอังกฤษ GDP ปรับเพิ่มขึ้น 1.1% ในช่วงสามเดือนจนถึงเดือนพฤศจิกายน แต่ปรับลงในเดือนธันวาคมและมกราคมเนื่องจากการระบาด ผมจึงคิดว่า 1.1% อาจเป็นการมองในแง่ดีไปหน่อย

อย่างไรก็ตาม ตลาดดูเหมือนจะเห็นด้วยกับธนาคารว่ากิจกรรมมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงในไตรมาสต่อๆ ไป “โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่เติบโตช้าลง” ตามที่ธนาคารกล่าวอ้างไว้ ผมสงสัยจังเลยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ในเมื่อพวกเขาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่คาดว่าเงินเฟ้อจะแตะ 7.25%! จากการคำนวณของธนาคาร รายได้แรงงานหลังหักภาษีที่แท้จริง – ซึ่งอาจเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานการครองชีพที่ดีที่สุดเลยเนื่องจากคำนวณรวมภาระด้านภาษีที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและรายได้ – จะลดลง 2% ในปี 2022 นี่เป็นการปรับลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีบันทึกในปี 1990

แล้วเหตุใดพวกเขาจึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา? “เหตุผลก็คือ: ถ้าเราไม่ทำแบบนี้ มันจะยิ่งแย่ลงไปอีก” ผู้ว่าการแอนดรูว์ เบลีย์กล่าว “มันเป็นคำพูดที่รับได้ยาก ผมเข้าใจดีว่ามันรับได้ยาก”

Share.
คำเตือนความเสี่ยง: การเทรดฟอเร็กซ์/CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นมีการเก็งกำไรสูงและมีความเสี่ยงสูง การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทั่วไป