ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความผิดปกติในเรื่องเงินเฟ้อมานานแล้ว รวมถึงในด้านอัตราดอกเบี้ยด้วย
สถานการณ์ผิดปกตินั้นอาจกำลังจะจบลง Reuters ได้ลงข่าวไปเมื่อวันศุกร์: ข่าวด่วน: การอภิปรายของ BOJ ส่งสารว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในที่สุดเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
โตเกียว 14 ม.ค. (Reuters) – ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นกำลังถกเถียงกันอยู่ว่าในที่สุดจะส่งโทรเลขให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วแค่ไหน โดยมีแหล่งข่าวกล่าวว่าอาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่อัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับเป้าหมายของธนาคารที่ 2% โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของราคาในวงกว้างและธนาคารกลางสหรัฐที่เข้มงวดขึ้น
เรื่องราวดำเนินต่อไปว่าพวกเขากำลังพูดถึงตอน “เข้าสู่ปี 2023” ดังนั้นจึงยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นทันที แต่ยังมีการอ้างแหล่งข่าวของ BoJ อีกด้วยว่า “BOJ จำเป็นต้องคอยจับตาอย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่ธนาคารกลางอื่นๆ กำลังดำเนินการอยู่” ซึ่งเป็นนโยบายปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นปกติทั้งหมด
ซึ่งนี่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่อามามิยะ รองผู้ว่าการกล่าวในการปราศรัยเมื่อต้นเดือนธันวาคม: “ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจและราคาของเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องทั่วไปที่ข้อกำหนดเฉพาะและทิศทางของนโยบายการเงินจะไม่เหมือนกัน…”
เนื่องจาก BoJ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมที่ต้องชำระคืนเมื่อทวงถามแบบไม่มีเงื่อนไขก่อนเป็นอันดับแรก ราคาสำหรับการกู้เงินข้ามคืนจึงลดลงเหลือ 0.5% ในเดือนกันยายน ในปี 1995 เคยขึ้นไปถึงแค่ 0.7% เท่านั้นและเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างสั้นด้วย ดังนั้นจึงเป็นเวลา 26 ปีมาแล้วที่เงินในประเทศญี่ปุ่นไม่มีหักค่าใดๆ ทำให้ JPY เป็นสกุลเงินที่ใช้ระดมทุนตามธรรมชาติสำหรับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่า 2% ยกเว้น a) เมื่อรัฐบาลขึ้นภาษีเพื่อการบริโภค ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ราคาผู้บริโภคสูงขึ้นด้วย และ b) ก่อนการล่มสลายของ Lehman Bros. และวิกฤตการเงินโลกในปี 2008
เรื่องราวของ Reuters กล่าวว่า BoJ กำลังคิดว่าจะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลยแม้ว่าจะยังไม่ถึงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ซึ่งจะเป็นการพลิกกลับครั้งใหญ่ ธนาคารกลางอื่นๆ ส่วนใหญ่เกินเป้าหมายที่ 2% ไปแล้ว ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงพิจารณาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ดูเหมือนว่าตลาดจะไม่ได้เชื่อเรื่องราวของรอยเตอร์เต็มร้อย ตลาดสวอปดัชนีข้ามคืนหรือ Overnight Index Swap (OIS) ซึ่งเทรดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ไม่มีการปรับขึ้นเนื่องจากข่าวเลย แต่นั่นอาจเป็นเพราะข่าวเพิ่งออกมาในวันศุกร์ บางทีตลาดอาจยังไม่ทันได้รับผลกระทบจากข่าว
การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของ BoJ เกิดขึ้นเมื่อราคาผู้ผลิตในญี่ปุ่นระอุขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมพูดถึงมาระยะหนึ่งแล้ว ตัวเลขเดือนธันวาคมออกเมื่อเช้าวันศุกร์ อัตราการเติบโตของดัชนีราคาผู้ผลิตหรือ Producer Price Index (PPI) หรือ Corporate Goods Price Index ตามที่รู้จักกันในญี่ปุ่น ชะลอตัวลงเป็น +8.5% yoy จากการแก้ไขปรับเพิ่มขึ้น +9.2% yoy ในเดือนพฤศจิกายน ถึงกระนั้นก็ยังคงค่อนข้างสูงเนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้นเพียง +0.6% yoy และไม่รวมถึงอาหารและพลังงานที่ปรับลง 1.2% yoy (พฤศจิกายน) หรือก็คือ ประเทศยังอยู่ในภาวะเงินฝืด! คำถามคือบริษัทต่างๆ จะเต็มใจรับผลกระทบที่มีต่อมาร์จิ้นจากต้นทุนปัจจัยการผลิตที่สูงกว่าราคาผลผลิตเป็นอย่างมากได้นานเพียงใด
แรงกดดันในการปรับขึ้นนี้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ซึ่งปรับขึ้นอย่างน่าตกตะลึงถึง 68% yoy ในเดือนธันวาคม แม้ว่านี่จะต่ำกว่าการปรับขึ้น 77% yoy ในเดือนพฤศจิกายนเล็กน้อย แต่ก็ยังสร้างแรงกดดันต่อมาร์จิ้นของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญสำหรับตลาดการเงินโลก ในขณะนี้ JPY เป็นสกุลเงินเดียวที่มีการเทรดกันอย่างแพร่หลายที่ไม่คาดคิดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีกสองปีข้างหน้า ทำให้เป็นสกุลเงินที่นิยมใช้ระดมทุน กล่าวคือ เป็นสกุลเงินที่นักลงทุนสามารถยืมเพื่อลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า การเทรดทั่วไปที่กองทุนป้องกันความเสี่ยงจะใช้เป็นตัวอย่าง อาจเกี่ยวข้องกับการกู้ยืม JPY และนำไปลงทุนในตราสารหนี้ของสหรัฐแบบ 10 ปี นักลงทุนชอบยืมเงินระยะสั้นเพื่อการเทรดเช่นนี้ เพื่อที่ว่าหากเมื่อใดที่พวกเขาต้องปิดสถานะ พวกเขาสามารถชำระคืนเงินกู้ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว พวกเขาจึงต้องมั่นใจว่าธนาคารกลางจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ยังคงมีเงินกู้คงค้างอยู่
หากเริ่มดูเหมือนว่า BoJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนอาจเลือกเปลี่ยนการกู้ยืมบางส่วนจาก JPY ไปเป็น EUR หรือ CHF ซึ่งเป็นสกุลเงินที่คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด นั่นจะทำให้ JPY แข็งค่าขึ้น และ EUR กับ CHF จะอ่อนค่าลง
ความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหมายความว่านักลงทุนจะให้ความสนใจมากกว่าปกติในการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (MPM) ในวันอังคาร และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วประเทศในวันศุกร์ (ดูเพิ่มเติมด้านล่าง) แม้จะมีแนวโน้มว่านโยบายจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็อาจแสดงความมั่นใจในแนวโน้มเงินเฟ้อมากขึ้น เช่น การปรับแก้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในแนวโน้มสำหรับราคาและกิจกรรมทางเศรษฐกิจรายไตรมาส และอาจลบส่วนที่ระบุว่า “ความเสี่ยงต่อราคาที่จะเอนเอียงไปฝั่งขาลง”
พวกเขายังอาจลบการเอนเอียงไปทางขาลงในคำแนะนำล่วงหน้าสำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ได้รับการเสนอในการประชุมเดือนตุลาคม 2019 นั่นหมายถึงการแทนที่คำแถลงปัจจุบันที่ธนาคาร “คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นและระยะยาวจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่า” ด้วยสิ่งที่มีก่อนการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ “ธนาคารตั้งใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวที่ต่ำมากในปัจจุบันไว้ต่อไปก่อน” (การเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่ในบทความของ Reuters ที่ยกมาด้านบน)
ขั้นตอนต่อไปที่น่าจับตามองคืออาจมีการลดผลตอบแทนเป้าหมายในนโยบายตรึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (YCC) จาก 10 ปีเป็น 7 ปี ตามด้วยการขจัดอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่นั่นเป็นขั้นตอนในอนาคตสำหรับ MPM
นักลงทุนจะต้องจับตามองการแถลงข่าวของผู้ว่าการคุโรดะต่อจาก MPM สำหรับมุมมองของเขาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นและผลกระทบของเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน ในอดีต สถานประกอบการของญี่ปุ่นสนับสนุนค่าเงินเยนที่อ่อนค่าเพื่อส่งเสริมการส่งออก แต่เมื่อไม่นานมานี้เจ้าหน้าที่ได้แสดงออกถึงความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในตอนนี้ที่ญี่ปุ่นมักขาดดุลบัญชีการซื้อขายสินค้า
นอกจากนี้ BoJ จะเผยแพร่รายงานการประชุมของ MPM ประจำเดือนธันวาคมในวันศุกร์อีกด้วย จุดโฟกัสจะอยู่ที่การอภิปรายหากมีกรณีใดเกี่ยวข้องกับการปรับลงในฐานเงินที่เป็นไปได้เมื่อพวกเขายุติมาตรการสนับสนุนทางการเงินบางส่วนในการระบาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม เราอย่าเพิ่งคิดไปไกลกันดีกว่า CPI ทั่วประเทศในวันศุกร์คาดว่าจะปรับขึ้น 30 จุดเป็น 0.90% yoy ซึ่งสูงกว่า CPI ของโตเกียวเล็กน้อย (+0.8% yoy) แต่มาตรการ “หลักของหลัก” ของ BoJ ซึ่งไม่รวมทั้งอาหารและพลังงาน (ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเงินเฟ้อ “หลัก” ของประเทศส่วนใหญ่) คาดว่าจะยังคงอยู่ที่ -0.6% yoy เป็นเรื่องยากที่จะได้เห็นว่าพวกเขาปรับนโยบายให้เป็นปกติในเร็วๆ นี้ ในขณะที่ประเทศยังอยู่ในภาวะเงินฝืดจากมาตรการดังกล่าว
ทำไม USD ถึงไม่แข็งค่าขึ้นในเมื่อมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะปรับขึ้น?
อีกประเด็นที่น่าสังเกตเกี่ยวกับตลาดในช่วงนี้คือการที่การคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะสูงขึ้น ไม่ได้ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอีกต่อไป กราฟแสดงให้เห็นว่าเมื่อต้นปีที่แล้ว ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มขยับขึ้นและลงบ้างพอประมาณจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสองหรือสามครั้งในระหว่างปี บางคนอาจคิดว่าเมื่อมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะปรับขึ้นสี่ครั้งหรือมากกว่านั้น และทะลุความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นสองหรือสามครั้ง เงินดอลลาร์ก็น่าจะได้ประโยชน์มากขึ้นไปอีก แต่มันไม่ได้เกิดขึ้น ดอลลาร์แตะจุดสูงสุดในวันที่ 20 ธ.ค. แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสี่ครั้งหรือมากกว่านั้นในปีนี้จะเปลี่ยนจาก “เป็นไปได้” เป็น “น่าจะเป็น” (กราฟใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักการเทรดดอลลาร์ แต่ก็แทบจะเป็นหนังม้วนเดิมหากเราใช้ EUR/USD)
ดูเหมือนว่าจะเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทน ตามที่กราฟแสดงให้เห็น TWI ของสหรัฐส่วนใหญ่เป็นไปตามเส้นอัตราผลตอบแทน (กลับหัว)
เกิดอะไรขึ้นกับเส้นอัตราผลตอบแทน? เราจะเห็นได้ชัดที่สุดหากเราดูกราฟที่แสดงการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนพันธบัตรแบบ 2 และ 10 ปี เทียบกับการเปลี่ยนแปลงในเส้นอัตราผลตอบแทน แทนการดูตัวเลขจริง สิ่งที่เราเห็นคือผลตอบแทนพันธบัตรแบบ 2 ปีเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบ 10 ปีเป็นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติเมื่อธนาคารกลางกระชับนโยบาย ผลตอบแทนพันธบัตรแบบ 2 ปีแสดงถึงอัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังได้ในระดับหนึ่งจากการกู้ยืมข้ามคืนและการหมุนเวียนเงินกู้รายวันเป็นเวลา 365 x 2 วัน หากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนจะปรับขึ้นในช่วงนี้ ผลตอบแทนแบบ 2 ปีก็ควรเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่สำหรับผลตอบแทนแบบ 10 ปีจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อ เมื่อธนาคารกลางกระชับนโยบาย ความเสี่ยงของเงินเฟ้อในอีก 10 ปีข้างหน้าจะลดลง ดังนั้นผลตอบแทนแบบ 10 ปีจึงอาจลดลงในบางครั้ง
ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม แม้ว่าผลตอบแทนพันธบัตรแบบ 10 ปีจะเริ่มสูงขึ้น แต่ก็ทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนทรงตัวและดูค่อนข้างราบเรียบเช่นกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าตลาดคิดว่าเฟดอยู่เบื้องหลังการควบคุมเงินเฟ้อ และนี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจึงไม่ช่วยเรื่องค่าเงินดอลลาร์
ตลาดอาจเชื่อว่า a) เฟดจะยอมให้อัตราดอกเบี้ยล่าช้าตามหลังอัตราเงินเฟ้อ หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะลดลง ซึ่งเป็นผลลบต่อเงินดอลลาร์ หรือ b) จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างพรวดพราด ณ จุดหนึ่ง ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อเงินดอลลาร์
จากทั้งหมดทั้งมวล จนกว่าเราจะได้เห็นหรือได้ยินคำแถลงเชิงรุกมากขึ้นจากเฟด ผมคาดว่าปฏิกิริยาของตลาดต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอาจดูขัดกับความรู้สึก ทุกคนกระตือรือร้นอยากได้ยินสิ่งที่พาวเวลล์ ประธานเฟด จะพูดหลังจากการประชุมครั้งต่อไปของ Federal Open Market Committee (FOMC) ในวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งห่างออกไปเพียงสัปดาห์ครึ่ง
สัปดาห์นี้: ข้อมูลส่วนใหญ่จากสหราชอาณาจักรกับแคนาดา, การจ้างงานในออสเตรเลีย
นอกประเทศญี่ปุ่น สัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์เงียบๆ สำหรับธนาคารกลางตัวหลัก เฟดและธนาคารกลางยุโรป (ECB) อยู่ในช่วง “ปลีกวิเวก” ก่อนการประชุมในสัปดาห์หน้า ดังนั้นจึงไม่มีโฆษกแถลงเลย
สหรัฐ: มีดัชนีชี้วัดที่สำคัญสองสามตัวของสหรัฐออกมาในระหว่างสัปดาห์ วันจันทร์เป็นวันหยุดประจำชาติของสหรัฐอเมริกา (วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง) ตัวชี้วัดที่สำคัญคือดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์กในวันอังคารและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของธนาคารกลางรัฐฟิลาเดลเฟียในวันพฤหัสบดี พร้อมด้วยยอดขายบ้านที่มีอยู่เดิมในวันเดียวกัน ดัชนีรัฐนิวยอร์กคาดว่าจะปรับลงในขณะที่ดัชนีธนาคารกลางรัฐฟิลาเดลเฟียคาดว่าจะปรับขึ้น ซึ่งผมคิดว่าเป็นเพราะนักเศรษฐศาสตร์คาดหวังให้ทั้งสองมาบรรจบกันเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ดัชนีทั้งคู่คาดว่าจะยังคงบ่งชี้ถึงการเติบโตที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ซึ่งอาจพอช่วยให้โล่งใจได้หลังจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอย่างไม่คาดคิดในสัปดาห์ที่แล้ว USD+
สหราชอาณาจักร: สหราชอาณาจักรมีดัชนีชี้วัดที่สำคัญหลายตัวระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ อัตราการว่างงานในวันอังคาร, CPI ในวันพุธ และยอดขายปลีกในวันศุกร์
CPI พื้นฐานคาดว่าจะปรับลงไปหนึ่งขยัก แต่ CPI ดาวเด่นคาดว่าจะปรับขึ้นหนึ่งขยัก โดยขยับสูงขึ้นไปในพื้นที่ 5%+ ซึ่งนั่นอาจเป็นตัวเลขที่สำคัญกว่าในแง่ของการประชาสัมพันธ์ และจะไม่ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษรู้สึกสั่นคลอนเพราะคำแถลงเมื่อเดือนที่แล้วว่าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ “จะสูงสุดที่ประมาณ 6% ในเดือนเมษายน 2022”
มีแนวโน้มว่าจะยืนยันสมมติฐานของตลาดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสี่ครั้งในปีนี้ ดังนั้นจึงอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นผลดีต่อค่าเงินปอนด์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากข้อมูลการจ้างงานแสดงให้เห็นว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกตามที่คาดไว้ (แม้คาดว่าอัตราการว่างงานจะไม่เปลี่ยนแปลง)
แต่ตัวชูโรงของอังกฤษในสัปดาห์นี้จะเป็น การสืบสวนของ Sue Gray ในการจัดงานยอดแย่ที่บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง หรือก็คือที่พำนักและสำนักงานของนายกรัฐมนตรี “งาน” ที่เป็นคำครหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จัดขึ้นในขณะที่ประเทศถูกล็อคดาวน์อย่างเข้มงวดและห้ามไม่ให้ผู้คนรวมตัวกันแม้แต่สำหรับงานศพ แต่ยังมีการจัดขึ้นในคืนก่อนงานพิธีพระศพเจ้าชายฟิลิปอีกด้วย (โดยมีผู้เข้าร่วมรายหนึ่งถูกส่งไปช้อปปิ้งซื้อไวน์ให้เต็มกระเป๋า) ทั้งประเทศต่างเสียใจที่ต้องเห็นพระราชินีนั่งอย่างโดดเดี่ยวระหว่างพิธีพระศพเนื่องจากข้อกำหนดการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing และในอีกภาพที่ตัดกันคือมีนายกและผองเพื่อนดื่มเหล้าสรวลเสเฮฮาอยู่ด้วยกันในคืนก่อนหน้า ซึ่งขัดกับทุกกฎเกณฑ์ที่ตนเองเป็นผู้สั่งให้ดำเนินการบังคับใช้กับคนอื่นๆ ทั้งหมด…
การสอบสวนอย่างเป็นทางการแบบนี้มักจบที่การพ้นข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหา ผมจึงไม่คาดหวังว่าจะมีตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ดมาลากนายกออกไปพร้อมกับใส่กุญแจมือ (ซึ่งเป็นไปได้ในทางทฤษฎี) สิ่งที่อาจเป็นดั่งฟางเส้นสุดท้ายสำหรับอริสคือการเปิดเผยแผนการให้คนอื่นรับผิดแทนเพื่อที่เขาจะได้ดำรงตำแหน่งต่อไป นั่นอาจดูเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุสำหรับชาวอังกฤษ ซึ่งผมยังคงมีความคาดหวังเล็กๆ เกี่ยวกับ “การตัดสินอย่างยุติธรรม” โพลของสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าเกินกว่าครึ่งคิดว่าบอริสควรลาออก
ผมคิดว่าการลาออกของเขาในท้ายที่สุดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ด้วยเหตุผลสามประการ 1) ไม่มีผู้เบิกทางที่ชัดเจนมาแทนที่เขา อย่างที่มักพูดกันในการเมืองว่า “คุณไม่สามารถเอาชนะใครสักคนได้โดยไม่มีใครเลย” ดูเหมือนว่าลิซ ทรูส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีริชี ซูนัคจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ 2) ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องแก้ไขเกี่ยวกับ Brexit โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปจะต้องกำจัดปัญหาไอร์แลนด์เหนือในปีนี้ ไม่มีใครอยากจัดการกับปัญหาเรื้อรังนี้เนื่องจากไม่มีทางออกที่ดี 3) ปัญหาของไอร์แลนด์เหนือมีความซับซ้อนจากข้อเท็จจริงที่ว่าจะมีการเลือกตั้งในท้องถิ่นภายในหรือก่อนวันที่ 5 พฤษภาคม รวมถึงในไอร์แลนด์เหนือด้วย หากการเลือกตั้งระดับประเทศเหล่านี้ส่งผลเสียต่อพรรคอนุรักษ์นิยม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเลือกตั้งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดแรงกดดันให้ไอร์แลนด์เหนือแยกตัวและเข้าร่วมกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์มากขึ้น บอริสอาจต้องรับผิดชอบและลาออก พรรคอนุรักษ์นิยมโอเคกับบอริสตราบเท่าที่เขายังเป็นตัวเรียกคะแนนเสียง แต่ถ้าเขากลายเป็นข้อบกพร่องเมื่อไหร่ เขาก็จะถูกเตะออกทันที
การลาออกของบอริสจะส่งผลดีหรือไม่ดีต่อเงินปอนด์? ผมเดาว่าเขาถูกมองว่าไร้ความสามารถมาก การลาออกของเขาอาจถูกมองว่าเป็นผลบวกต่อค่าเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมาแทนที่เขา
ขณะเดียวกัน อินเทอร์เน็ตก็ไร้ความปราณีต่อปัญหาของเขา
(สำหรับพวกคุณที่ไม่คุ้นเคยกับคำแสลงของชาวอังกฤษ: นี่เป็นคำดูถูกทั่วๆ ไปที่บอกว่ามีคนคนหนึ่งที่บริหารจัดการได้แย่มากขนาดที่พวกเขาไม่สามารถจัดงานปาร์ตี้ดื่มเหล้า (“piss-up”) ได้ในร้านเหล้า)
(Wetherspoons เป็นเครือผับยอดนิยมในอังกฤษ)
มุมมองของผมคือเรื่องทั้งหมดนี้ทำให้นึกถึงเรื่องสั้นของโป The Masque of the Red Death: มากเกินไป
“Red Death” ได้ทำลายล้างประเทศไปนานแล้ว…แต่เจ้าชายพรอสเปโรก็มีความสุข ปราศจากความกลัว และเฉียบแหลม เมื่อการปกครองของเขาถูกลดหายไปครึ่งหนึ่ง เขาก็เรียกเพื่อนนับพันที่เริงร่ามีชีวิตชีวาจากบรรดาอัศวินและนางในราชสำนักของเขามาปรากฏตัว และพร้อมกับคนกลุ่มนี้ เขาได้เดินทางไปยังหนึ่งในสถานที่ส่วนตัวที่มีวัดวาอารามที่สร้างขึ้นจากปราสาท… ปล่อยให้โลกภายนอกดูแลกันไปเอง ระหว่างนั้นมันเป็นความเขลาที่จะมัวเศร้าโศกหรือคิดไตร่ตรอง…
ที่อื่นๆ ออสเตรเลียจะเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานในวันพฤหัสบดี นี่เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากธนาคารกลางออสเตรเลียเป็นหนึ่งในธนาคารกลางที่มี “เป้าหมาย 2 ประการ” ซึ่งกำหนดให้ต้องคำนึงถึงการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ
ด้วยการจ้างงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและการคาดการณ์อัตราการว่างงานจะลดลงอีกและต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดที่ 5.1% ตลาดแรงงานดูมีท่าทีเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงิน AUD
แม้ว่า RBA จะเน้นไปที่การเติบโตของค่าจ้าง แต่แนวทางนโยบายบอกว่า “คณะกรรมการจะไม่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนกว่าอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงจะทรงตัวอยู่ในช่วงเป้าหมาย 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ สิ่งนี้จะทำให้ตลาดแรงงานเข้มแข็งพอที่จะสร้างการเติบโตของค่าจ้างที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างมาก” (เน้นเพิ่ม) ข้อมูลค่าจ้างจะออกเฉพาะรายไตรมาส การเผยแพร่ครั้งถัดไปคือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ จนกว่าจะถึงตอนนั้น ตลาดจะยังให้ความสนใจกับชั่วโมงทำงาน ซึ่งจะออกมาพร้อมกับข้อมูลการจ้างงานด้วย (ไม่มีการคาดการณ์)
สุดท้าย แคนาดาจะเปิดเผย CPI (วันพุธ) และยอดขายปลีก (วันศุกร์) ราคาผู้บริโภคคาดว่าจะปรับขึ้นอีก รวมถึงมาตรการหลักด้วย
ธนาคารกลางแคนาดากล่าวว่ามีความมุ่งมั่นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับศูนย์ “จนกว่าทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจจะถูกใช้งานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% อย่างยั่งยืน” โดยประมาณการว่าจะเกิดขึ้น “ณ จุดไหนสักแห่งในช่วงกลางปี 2022” ในขณะที่ตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมของธนาคารแคนาดาวันที่ 2 มีนาคม แต่ CPI ที่สูงขึ้นในเดือนธันวาคมอาจกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์บางส่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการประชุมวันที่ 26 มกราคม ซึ่งนั่นอาจเป็นผลบวกต่อ CAD