อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น อัตราการเติบโตลดลง

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr +

บรรดาธนาคารกลางและผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่า สงครามในยูเครนจะเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและชะลออัตราการเติบโต อีกทั้งยังจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น

ต่อไปนี้คือสิ่งที่ Fed ของสหรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศอังกฤษได้กล่าวถึงหัวข้อนี้ในสัปดาห์นี้:

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 16 มีนาคม – ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นมีความไม่แน่นอนสูง แต่ในระยะเวลาอันใกล้ การรุกรานและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อเงินเฟ้อและส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ วันที่ 17 มีนาคม – ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps

ในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ การรุกรานยูเครนของรัสเซียนั้นส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกรุนแรงขึ้นและจะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจเกิดความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นอย่างมาก แรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลกจะแข็งแกร่งขึ้นอย่างมากในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มที่จะชะลอตัว

นั่นคือสิ่งที่ตลาดคิดอย่างแน่นอน ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตสำหรับปีนี้ถูกปรับทบทวนให้ต่ำลงและตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อถูกปรับทบทวนให้สูงขึ้น

แต่ที่น่าแปลกก็คือ ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งพุ่งสูงขึ้นหลังจากการรุกราน ได้ลดต่ำลงเมื่อเร็วๆ นี้

และตลาดหุ้นเริ่มกลับมาฟื้นตัว

อะไรคือความเชื่อมโยง ผมเดาว่าทั้งหมดนั้นมาจากน้ำมัน หากราคาน้ำมันตก อัตราเงินเฟ้อจะไม่สูงขึ้นเท่านี้ บรรดาธนาคารกลางก็จะไม่ต้องเข้มงวดนโยบายมากนัก และการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็จะดีขึ้น หากราคาน้ำมันกลับไปพุ่งสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็จะสูงขึ้นไปอีกนาน บรรดาธนาคารกลางก็จะต้องเข้มงวดนโยบายมากขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องใช้จ่ายรายได้กันมากขึ้นในการซื้อน้ำมันเบนซิน ซื้อไอโฟนกันน้อยลง และเราจะกลับมากังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยและภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน

ในขณะเดียวกันความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็กำลังลดลง ดัชนีชี้วัดจาก OECD เหล่านี้ไม่ได้รวมสถานการณ์ล่าสุดต่างๆ ไว้

เศรษฐกิจต่างๆ ล้วนเปราะบางและความเชื่อมั่นก็เปราะบางด้วย เราอาจเห็นธนาคารกลางหลายแห่ง อย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษใช้แนวทางที่จริงจังมากขึ้นในการเข้มงวดนโยบาย (“การเข้มงวดนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอาจเหมาะสม” มากกว่า “น่าจะเหมาะสม” ในเดือนที่แล้ว) มากกว่า Fed ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เข้มงวดมากขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ

 

 

สัปดาห์นี้: PMI เบื้องต้น, ดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักรและโตเกียว, งบประมาณของสหราชอาณาจักร, คำปราศรัยของ Powell

ปฏิทินดัชนีชี้วัดไม่อัดแน่นมากนัก แต่จะมีดัชนีชี้วัดที่สำคัญๆ บางตัวออกมา

อันดับแรกและสำคัญที่สุดคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นของบรรดาประเทศอุตสาหกรรมหลัก (ญี่ปุ่น, ยูโรโซน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา – ออสเตรเลียด้วย แต่ไม่มีใครสนใจดัชนีนี้เลย) ในวันพฤหัสบดี

ดัชนีเหล่านี้คาดว่าจะออกมาไม่ดี โดยเฉพาะตัวเลขภาคการผลิต ซึ่งนั่นคือการเปลี่ยนแปลง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การล็อกดาวน์เพื่อรับมือกับไวรัสได้ส่งผลกระทบต่อภาคบริการมากที่สุด ตอนนี้ข้อจำกัดเหล่านี้ถูกยกเลิกไปมากแล้ว หากแต่แทนที่ด้วยราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นและการหยุดชะงักของการค้าโลกที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

เราควรมองภาพกว้างๆ คาดว่าดัชนี PMI ของทุกประเทศกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นที่ทนทุกข์ทรมานมายาวนาน นั่นหมายความว่าคาดกันว่า “ภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน” นั้นเกิดขึ้นก่อนเวลาอันควร น้อยกว่า “ภาวะถดถอย” มาก แต่นี่ไม่ใช่ทิศทางที่เราอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

จากการวิเคราะห์การถดถอยของดัชนี PMI ของตลาดที่พัฒนาแล้วโดยรวมเทียบกับของประเทศสหรัฐอเมริกา, ยูโรโซน และสหราชอาณาจักร ผมคาดว่า PMI ภาคการผลิตของตลาดที่พัฒนาแล้วโดยรวมจะลดลงมาที่ 54.5 จากเดิม 56.6 และดัชนี PMI ภาคบริการจะลดลงเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 54.9 จากเดิม 55.0. ตัวเลขเหล่านี้ยังคงเป็นตัวเลขที่แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว แต่ไม่จำเป็นต้องขยับไปในทิศทางที่คุณต้องการเห็นในช่วงเริ่มต้นของการเข้มงวดนโยบายของธนาคารกลาง

นอกจากนี้ จะมีการเปิดเผยดัชนี Ifo ของเยอรมนีในวันศุกร์นี้

มีตัวเลขเงินเฟ้อหลักๆ สองชุดที่จะออกมาในระหว่างสัปดาห์ กล่าวคือ ตัวเลขของสหราชอาณาจักร (วันพุธ) และโตเกียว (วันศุกร์)

ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหราชอาณาจักรคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 5.9% จากเดิม 5.4% ตัวเลขนี้ไม่น่าออกมาผิดคาดสำหรับใครต่อใคร คำแถลงหลังการประชุมของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเมื่อวันพฤหัสบดีได้ถูกกล่าวว่า “อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เป็นประมาณ 8% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 และอาจสูงขึ้นอีกในปลายปีนี้” ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ดังนั้นการเพิ่มขึ้นเช่นนี้ไม่น่าจะทำให้ตลาดตกใจ ทั้งนี้มีแนวโน้มส่งผลเป็นกลางต่อเงินปอนด์

ในขณะเดียวกัน CPI ของโตเกียวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกจนถึงระดับสูงเสียดฟ้าเกือบ 1.2% yoy ซึ่งสำหรับญี่ปุ่นน่าจะสูงที่สุดในรอบสองปี แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค “core” สไตล์ญี่ปุ่น (ไม่รวมราคาอาหารสด) คาดว่าจะยังคงต่ำกว่า 1% และดัชนีราคาผู้บริโภค “core-core” (ซึ่งในประเทศอื่นๆ เป็นเพียง “core” ธรรมดา ไม่รวมราคาอาหารและราคาสินค้าหมวดพลังงาน) คาดว่าจะยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืดที่ -0.50% yoy ลองนึกภาพ – ภาวะเงินฝืดของโลกวันนี้! ช่างเหลือเชื่อมาก เรากำลังรอจนถึงเดือนเมษายนที่ผลกระทบของราคาโทรศัพท์มือถือลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันและ CPI ประจำปีเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 จุดร้อยละ

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของเยอรมันก็ออกมาในเช้าวันจันทร์เช่นกัน โดยมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว – 25% yoy ซึ่งคาดว่าจะเร่งขึ้นเป็น 26.1% yoy นั่นจะต้องส่งผ่านไปสู่ตัวเลขยอดค้าปลีกในที่สุด อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวอาจมีข่าวดีอยู่บ้าง – อัตราการเปลี่ยนแปลง mom คาดว่าจะชะลอตัวลงเป็น +1.7% mom จากเดิม +2.2%

บทเรียนที่คาดไว้จากตัวเลขทั้งสองนี้คืออัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนั้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง เราสามารถคาดการณ์ว่าจะได้เห็นบรรดาธนาคารกลางผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยยังคงสูงขึ้นตามไปด้วย

 

ในวันพุธ Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งสหราชอาณาจักรจะประกาศแถลงการณ์ประจำฤดูใบไม้ผลิ แถลงการณ์ประจำฤดูใบไม้ผลิเคยเป็นการประกาศงบประมาณประจำปี แต่ในขณะนั้นรัฐมนตรีคลัง Philip Hammond ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงในปี 2016 และย้ายการประกาศงบประมาณไปยังฤดูใบไม้ร่วง รวมกับแถลงการณ์ประจำฤดูใบไม้ร่วง อย่างไรก็ตาม กฎหมายยังคงระบุว่าสำนักงานรับผิดชอบด้านงบประมาณ (OBR) จะต้องจัดทำตัวเลขคาดการณ์ 2 รายการซึ่งก็คือตัวเลขการกู้ยืมและอัตราการเติบโตเป็นประจำทุกปี ดังนั้น Hammond จึงยังคงแถลงการณ์ประจำฤดูใบไม้ผลิไว้ แต่มีเพื่อประกาศตัวเลขคาดการณ์จาก OBR และการตอบสนองเท่านั้น แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้รวมการเปลี่ยนแปลงด้านภาษีหรือการใช้จ่ายใดๆ

ในแผนงบประมาณ Autumn Budget เมื่อวันที่ 27 ต.ค. เขาได้ให้คำมั่นว่า “เศรษฐกิจใหม่หลังโควิด… เหมาะสมกับยุคใหม่ของการมองโลกในแง่ดี” ในเวลานั้น OBR คาดการณ์ว่ารัฐบาลจะกู้เงินจำนวน 183 พันล้านปอนด์ในปีงบประมาณ แต่ทั้งนี้เนื่องมาจากตัวเลขการเก็บภาษีที่ออกมาดีเกินคาด ขณะนี้คาดว่าจะกู้เงินเพียง 160 พันล้านปอนด์เท่านั้น คำถามคือจะทำอย่างไรกับเงินส่วนเพิ่มอีก 23 พันล้านปอนด์ มีโอกาสอันดีที่เขาจะดำเนินการตามประเทศอื่นๆ ในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝรั่งเศส, ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ โดยลดภาษีน้ำมันเพื่อลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้เขาอาจเพิ่มเกณฑ์ต่างๆ ก่อนที่พลเมืองจะต้องเสียภาษีเงินได้หรือจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ อย่างไรก็ตามเขาได้กล่าวยืนหยัดอย่างแน่วแน่ว่า แถลงการณ์ประจำฤดูใบไม้ผลิไม่ควรถูกมองว่าเป็นงบประมาณเต็มรูปแบบ ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ดำเนินการอะไรใดๆ เลย

โดยทั่วไป นโยบายการเงินที่เข้มงวดและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมักจะเป็นวิธีการที่ดำเนินการเพื่อสกุลเงินที่แข็งค่าขึ้น ข้อบ่งชี้ว่าเขาอาจผ่อนคลายนโยบายการคลังอาจถูกมองว่าเป็นผลดีต่ออัตราการเติบโตและด้วยเหตุนั้นจึงส่งผลบวกต่อเงินปอนด์

นอกจากนี้ จะมีการเปิดเผยตัวเลขการกู้ยืมภาครัฐของสหราชอาณาจักรออกมาในวันอังคาร

นอกจากนี้ตัวเลขยอดค้าปลีกในสหราชอาณาจักรก็จะออกมาในวันศุกร์เช่นกัน

สหรัฐฯ จะเปิดเผยยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ในวันพุธและยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในวันพฤหัสบดี

ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนคาดว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยอดคำสั่งซื้อเครื่องบิน

หากไม่รวมอุปกรณ์การขนส่ง ยอดคำสั่งซื้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้น +0.5% mom ซึ่งต่ำกว่าเส้นแนวโน้มเล็กน้อย (+0.7% mom) แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก

Share.
คำเตือนความเสี่ยง: การเทรดฟอเร็กซ์/CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นมีการเก็งกำไรสูงและมีความเสี่ยงสูง การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทั่วไป