หมายเหตุ: ตารางข้างต้นได้รับการอัพเดทก่อนการประกาศข้อมูลการสำรวจเงินเฟ้อคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม เราได้จัดเตรียมข้อความและกราฟไว้ล่วงหน้า ดังนั้นการคาดการณ์ที่ระบุไว้ในตารางข้างต้นกับในข้อความและกราฟอาจแตกต่างกัน
การประชุมของ FOMC: ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps
แน่นอนว่ากิจกรรมสำคัญของวันนี้ก็คือการประชุมของ Federal Open Market Committee (FOMC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของ Fed สหรัฐฯ เราจะคุยถึงเรื่องนี้ในเชิงลึกและลงรายละเอียดตามปกติใน มุมมองรายสัปดาห์: The Next Three (สามสิ่งในอนาคต) (สามสิ่งในกรณีนี้ก็คือการประชุมของธนาคารกลางสามแห่งในสัปดาห์นี้) ดังนั้น ผมจะสรุปสิ่งที่ผมพูดถึง
Powell ประธาน Fed ได้กล่าวว่าเขากำลังจะแนะนำให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ในการประชุมครั้งนี้โดยเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2018 ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูงสุดสำหรับเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้ยกเว้นในเวลาใกล้กับที่มีการประกาศ CPI ประจำเดือนมกราคมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ซึ่งทำให้ตลาดเชื่อเป็นการชั่วคราวว่าน่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps
คำถามสามข้อที่ตลาดต้องการคำตอบก็คือ:
- หลังจากนี้จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหรือไม่
- เมื่อใดที่พวกเขาจะเริ่มปรับลดปริมาณงบดุล และ
- พวกเขาจะปรับลดงบดุลลงเท่าใดในแต่ละเดือน
สำหรับคำถามแรก ตลาดมีโอกาสสูงสุดที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ถึง 7 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed อยู่ที่ 1.75%-2.0% จึงอาจตีความได้ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ในการประชุมแต่ละครั้งในระยะเวลาที่เหลือของปีโดยต้องอยู่ในกรอบที่เป็นไปได้ ตลาดมองว่าพอที่จะเป็นไปได้โดยโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยหกครั้งเท่าๆ กับโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยแปดครั้ง
การดำเนินการดังกล่าวทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ยังคงต่ำกว่าสิ่งที่สมาชิก FOMC ถือว่าเป็นอัตราระดับ “ปานกลาง” ที่ 2.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ได้กระตุ้นหรือควบคุมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ ตลาดไม่ได้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงถึงขั้นนั้น แม้ฟิวเจอร์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 2.16% ในเดือนธันวาคม 2023 แล้วเริ่มต้นลดลงหลังจากนั้น จึงตีความได้ว่าพวกเขาคิดว่า Fed จะต้องเริ่มใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายก่อนที่จะสามารถปรับให้อยู่ในระดับปานกลางได้
การประชุมครั้งนี้จะมาพร้อม Summary of Economic Projections (SEP) ฉบับอัพเดท ซึ่งคุณสามารถคาดได้ว่าจะได้อ่านสรุปการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของคณะกรรมการ ตามปกติแล้ว สิ่งที่ต้องกังวลเป็นพิเศษก็คือการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของพวกเขา
รวมถึง “dot plot (การสำรวจความเห็นที่แสดงโดยใช้แผนภาพแบบจุด)” ซึ่งสมาชิกแต่ละรายจะคาดการณ์ว่าเขาหรือเธอคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะสูงเท่าใดเมื่อสิ้นปีแต่ละปี ตลาดจะต้องการทราบว่าสมาชิกคณะกรรมการที่มีท่าทีเป็นกลางกำลังคิดอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่ตลาดกำลังคิด ท่าทีในขณะนี้ก็คือตลาดมีความมั่นใจสำหรับปีนี้และปีหน้ามากกว่าคณะกรรมการ แต่คาดว่า Fed จะต้องใช้นโยบายแบบผ่อนคลายในปี 2024 ซึ่งตรงข้ามกับความคาดหวังของ Fed ที่ว่าจะสามารถควบคุม “แบบผ่อนปรน” ตามที่นิยมและทำให้เศรษฐกิจมีดุลภาพ โอ้โห! เรื่องนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นแต่อาจจะเกิดขึ้นในครั้งนี้นี่แหล่ะ เราทุกคนรู้ว่าผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งรับประกันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
วงจรการปรับขึ้นดอกเบี้ยสี่ครั้งล่าสุดยาวนาน 30 เดือนโดยเฉลี่ย แต่แบ่งออกเป็นวงจรระยะสั้นสามวงจร (โดยเฉลี่ย 18 เดือน) และวงจรระยะยาวสองวงจร (41 เดือน) ตลาดกำลังคาดการณ์ว่าจะเกิดวงจรระยะยาว แต่ในกรณีนี้เป็นวงจรการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยในระยะสั้น
Fed กล่าวในการประชุมเดือนมกราคมว่าพวกเขากำลังจะปรับลดงบดุล “ในลักษณะที่สามารถคาดเดาได้” โดยอนุญาตให้พันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอนโดยไม่ต้องถือต่อมากกว่าจะขายพันธบัตร คำถามหลังจากนี้ก็คือพวกเขาจะอนุญาตให้พันธบัตรครบกำหนดในลักษณะนี้มากน้อยเพียงใดในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดของพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอนโดยไม่ต้องถือต่อ ในแถลงการณ์ต่อสภา Congress ครั้งล่าสุด ประธาน Powell กล่าวว่าพวกเขาจะตัดสินใจประเด็นดังกล่าวในการประชุมครั้งนี้
คำถามเรื่องเวลาที่จะเริ่มต้นปรับลดงบดุลก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ สมาชิกแต่ละคนแสดงมุมมองที่ต่างกันซึ่งสามารถสรุปได้ว่า “เวลาใดเวลาหนึ่งในช่วงหลังของปีนี้” ซึ่งพวกเขาอาจพยายามระบุให้เฉพาะเจาะจงกว่านี้ขณะที่ยังคงมีโอกาสอีกมากหากเหตุการณ์แตกต่างไปจากที่คาดหวัง
ครั้งล่าสุดที่มีการกล่าวถึงก็คือในเดือนมิถุนายน 2017 เมื่อพวกเขาบอกว่า “ขณะนี้ คณะกรรมการคาดว่าจะเริ่มต้นนำโครงการที่ทำให้งบดุลเข้าสู่ภาวะปกติมาใช้ในปีนี้ หากเศรษฐกิจยังคงดีขึ้นตามที่คาด” ในการประชุมเดือนกรกฎาคมถัดมา พวกเขากล่าวว่า “คณะกรรมการคาดว่าจะเริ่มต้นนำโครงการที่ทำให้งบดุลเข้าสู่ภาวะปกติมาใช้ในเร็วๆ นี้ หากเศรษฐกิจในภาพรวมยังคงดีขึ้นตามที่คาด…” จากนั้น ในการประชุมเดือนกันยายนถัดมา พวกเขากล่าวว่า “ในเดือนตุลาคม คณะกรรมการจะริเริ่มนำโครงการที่ทำให้งบดุลเข้าสู่ภาวะปกติมาใช้…” แต่เมื่อพิจารณาถึงเงินเฟ้อในตอนนี้ พวกเขาอาจไม่พูดคำว่า “ในปีนี้” แต่จะพูดว่า “เร็วๆ นี้” ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงโดยมีคำเตือนจำนวนมากเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง
ผลกระทบต่อตลาด: ตลาดคาดว่าจะปรับขึ้นปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ปฏิกิริยาหลังจากนั้นจะควบคุมโดย 1) dot plot จะเปลี่ยนไปมากเท่าใดและ 2) พวกเขามีความตั้งใจที่จะปรับลดงบดุลมากน้อยเพียงใด เมื่อพิจารณาแรงกดดันจากพรรคร่วมที่อยากจะลดอัตราเงินเฟ้อ ผมคาดว่า Powell ประธาน Fed จะไม่ตุกติกในการแถลงข่าวของขา ซึ่งอาจเป็นผลบวกต่อค่าเงินดอลลาร์
ข้อมูลชี้วัดวันนี้
ข้อมูลชี้วัดวันนี้เริ่มต้นด้วยการสมัครขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของ Mortgage Bankers’ Association (MBA) ตัวเลขยังคงไปได้ดีจนถึงทุกวันนี้ แม้จะไม่มากเท่าปีก่อนเพราะปีก่อนผิดปกติ แต่ก็ยังดีกว่าปีอื่นๆ ในทศวรรษนี้ เมื่ออุปสงค์ที่อยู่อาศัยแข็งแกร่งเช่นนี้ Fed จึงสบายใจที่จะไม่ให้ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่มีการจำนองเนื่องจากอุปสงค์ดังกล่าวพยายามพยายามเปลี่ยนพอร์ตเพื่อให้สอดคล้องกับพันธบัตรส่วนใหญ ซึ่งอาจเป็นผลบวกต่อค่าเงินดอลลาร์
เนื่องจากยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ออกมาไม่กี่ชั่วโมงก่อนจบการประชุม FOMC ที่เป็นตัวชี้ขาด ตลาดจึงไม่ค่อยให้ความสนใจตัวชี้วัดตามปกติอย่างน้อยหนึ่งตัวที่มีความสำคัญมากกว่าในแต่ละเดือน
คาดว่ายอดขายจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับตัวลดลงของยอดขายยานยนต์ 5.2% mom และส่วนหนึ่งก็เป็นการสะท้อนถึงการขายที่ยอดเยี่ยมในเดือนที่ผ่านมา หากไม่รวมยอดขายยานยนต์ คาดว่ายอดขายจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าที่ +0.9% mom ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยหกเดือน ยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่ามีการจ้างงานและมีชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นซึ่งช่วยหนุนศักยภาพในการใช้จ่ายในภาพรวม
โปรดทราบว่าตัวเลขยังไม่ได้ปรับตามค่าเงินเฟ้อ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นประมาณ +0.6% mom จะเท่ากับว่าถึงแม้ปริมาณสินค้าที่ขายไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แต่มูลค่าจะเพิ่มขึ้น +0.6% หากพิจารณาแล้ว การเพิ่มขึ้นทั่วไปที่ประมาณการไว้ที่ +0.4% mom ของมูลค่ายอดขายถือเป็นการปรับตัวลดลงในความเป็นจริง
ผมสงสัยว่าตลาดจะมองในมุมนี้บ้างหรือไม่ และผมยังคาดว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของยอดขายหลังการปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบผิดปกติในเดือนก่อนจะถือเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้นจึงเป็นผลบวกต่อค่าเงินดอลลาร์
แคนาดาจะประกาศ Consumer price index ซึ่งมีตัวเลขเงินเฟ้อครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมของ Bank of Canada ในช่วงกลางเดือนเมษายน มีการคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่คาดว่าตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสองในสามตัวจะทะลุกรอบเป้าหมาย 1%-3%
ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Bank of Canada ระบุว่า “ตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด” และเตือนว่า “เงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างถาวรกำลังจะเพิ่มความเสี่ยงว่าการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะที่ยาวกว่าอาจพุ่งสูงขึ้นอีก” จริงๆ แล้ว อัตราเงินเฟ้อในรอบ 10 ปีของแคนาดาได้สูงจนทะลุสถิติที่ 2.21% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในรอบ 5 ปีของแคนาดาได้สูงจนทะลุสถิติที่ 2.93% โดยแทบจะทะลุออกนอกกรอบ ทำให้คณะมนตรีบริหารกล่าวว่า “คาดว่าจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก” ดังนั้น การที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีกซึ่งดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพียงการยืนยันการคาดการณ์ดังกล่าวเท่านั้น CAD+
USD/CAD ดูไม่มีปฏิกิริยาที่สอดคล้องกับข้อมูล ดูเหมือนว่าพูดในภาพรวม ตัวเลขตามจริงสูงกว่าที่ตลาดประมาณการมากโดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2 ค่า ส่งผลให้ USD/CAD ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ตัวเลขพลาดประมาณการและ USD/CAD ปรับตัวลดลง
EUR/CAD ดูเหมือนจะได้รับผลประโยชน์ที่ดีกว่า USD/CAD จากข้อมูลที่ประกาศออกมา
ใน 13 เดือนล่าสุด ดัชนีสูงกว่าประมาณการ 7 ครั้ง ตรงตามประมาณการ 3 ครั้งและพลาดประมาณการ 3 ครั้ง จึงมีโอกาส 50-50 พอกันว่าตัวเลขจะสูงกว่าประมาณการหรือไม่
ในช่วงกลางคืน นิวซีแลนด์จะประกาศตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4 นิวซีแลนด์เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่รายงานตัวเลข GDP เป็นประเทศสุดท้ายเสมอซึ่งผมคิดว่าน่าแปลกเนื่องจากเป็นประเทศที่ค่อนข้างเล็กและควรจัดทำข้อมูลได้ง่าย แต่ผมคาดว่าพวกเขามีนักสถิติที่รวบรวมข้อมูลน้อยกว่า
นอกจากนี้ ตัวเลขไม่เพียงออกมาช้า แต่ยังคลาดเคลื่อนจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ใช้รับมือกับสถานการณ์โรคระบาด ถึงแม้ตัวเลขจะชะลอตัวระหว่างไตรมาส แต่ก็ยังคงใช้ได้
อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดหวังว่าจะมีการรีบาวนด์ที่แข็งแกร่งจากการปรับตัวลดลงเพราะการล็อกดาวน์ในไตรมาส 3 เนื่องจากประชาชนที่ร่วมกันออกไปจับจ่ายใช้สอยเป็นระยะ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.3% ซึ่งต่างจากการคาดการณ์ของ Reserve Bank of New Zealand ประจำเดือนกุมภาพันธ์ที่ 2.3% qoq ใน แถลงการณ์นโยบายทางการเงิน เป็นอย่างมาก
ผมไม่คาดว่าตลาดจะมีปฏิกิริยาอะไรมาก ข้อแรก ตลาดไม่ได้มีปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อตัวเลข GDP ของนิวซีแลนด์ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม บางทีอาจจะเป็นเพราะตัวเลขเหล่านั้นเก่าเกินไป แม้ NZD/USD ดูเหมือนจะมีปฏิกิริยามากกว่าในช่วงแรก แต่ AUD/NZD ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบที่ยาวนานกว่า
นอกจากนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อตั้งแต่ช่วงปลายกุมภาพันธ์ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในไตรมาส 1 น้อยลง หมายความว่าข้อมูลของไตรมาส 4 บอกให้เรารู้ถึงแนวโน้มของกิจกรรมในอนาคตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเหตุการณ์ยังคงไม่ฟื้นตัวโดยจะเห็นได้จากการดำเนินการรับมือของหน่วยงานสาธารณสุข
ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นคาดว่าจะปรับตัวลดลงหลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาสามเดือน แต่ผมมองว่าไม่สำคัญ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคนจึงดูตระหนกกับข้อมูลชี้วัดตัวนี้มาก ซึ่งดูไม่มีแนวโน้มมาก่อน ดังนั้น จึงไม่ได้ให้ข้อมูลชี้วัดที่ต่อเนื่องถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น แต่ข้อมูลนี้มีค่าความเกี่ยวข้องของ Bloomberg สูง ผมจึงต้องรายงานเป็นประจำทุกเดือน
ออสเตรเลียประกาศข้อมูลการจ้างงานในวันพฤหัสบดี ซึ่งคาดว่าข้อมูลจะออกมาดี โดยอัตราการว่างงานปรับตัวลดลง การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนก่อน และอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงาน (ไม่อยู่ในภาพ) สูงขึ้น ในสัปดาห์ก่อน Lowe ผู้ว่าการ Reserve Bank of Australia ยอมรับว่า “เป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นในปีนี้” แต่เขายังพูดอีกว่าก็มีสถานการณ์ที่เป็นไปได้ว่าดอกเบี้ยจะไม่ปรับขึ้นจนถึงปีหน้า และเขากำลังให้ความสำคัญกับค่าแรงและการปรับขึ้นราคาสินค้า/ค่าแรงจนสูงมาก ซึ่งเขาหวังว่าจะสามารถทำให้เงินเฟ้อมีเสถียรภาพตามกรอบเป้าหมายของ RBA ในแง่นี้ การที่ภาพรวมของการจ้างงานดีขึ้นจะเป็นผลบวกต่อ AUD แม้จะเป็นผลทางอ้อมก็ตาม